มาสทวิชต์

สนธิสัญญามาสทริชต์ 

 สหภาพยุโรปเป็นการรวมกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกภายหลังสงครามโลกครั้งที่  2  โดยการทำสนธิสัญญามาสทริชต์  (Treaty  of  Maastricht)  ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์  เพื่อก่อตั้งสหภาพยุโรป  ที่มีผลบังคับในเดือนพฤศจิกายน  ค.ศ. 1993

       ความคิดในเรื่องการบูรณาการยุโรปมีมานานับศตวรรษ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสงครามโลกครั้งที่  2  สิ้นสุดลง  ทั้งนี้เป็นผลจากการที่ยุโรปได้รับความเสียหายจากสงครามเพราะมีผู้บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนเกือบ  10  ล้านคน  ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเพราะชาติยุโรปต่าง ๆขัดแย้งศัตรูระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนี

       นอกจากนี้ยังสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสงครามร่วมกันได้  เพราะบทเรียนที่ชาติยุโรปได้รับก็คือ  แต่เดิมชาติยุโรปต่างแข่งขันด้านเศรษฐกิจ  โดยไม่คำนึงถึงชาติอื่น ๆ  ทั้งนี้เป็นเพราะความรู้สึกเรื่องชาตินิยมทางเศรษฐกิจ  ทำให้ในที่สุดได้กลายเป็นสงครามสู้รบที่นำความเสียหายมาสู่ยุโรปแต่ถ้ายุโรปรวมกันได้ก็จะเกิดการค้าเสรีภายในยุโรปและขจัดอุปสรรคเกี่ยวกับชาติ  ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า  ทุน  แรงงานและบริการและการผลิตสินค้าที่อยู่ในกรอบของภูมิภาคไม่ใช่เป็นการผลิตสินค้าโดยแต่ละประเทศ

       นอกจากนี้การบูรณาการยุโรป  เกิดขึ้นจากความรู้สึกที่ว่าประเทศมหาอำนาจสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตเข้ามามีอิทธิพลแทรกแซงยุโรปตะวันตก  ซึ่งถ้ายุโรปรวมกันได้ก็จะกลายเป็นพลังอำนาจทัดเทียมกับสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต

       แผนการบูรณาการยุโรปในตอนแรกเกิดอุปสรรคเนื่องจากสหภาพโซเวียต  ซึ่งมีอิทธิพลเหนือประเทศยุโรปตะวันออกไม่ยอมให้ประเทศเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กับประเทศยุโรปตะวันตก  แต่ผู้นำประเทศยุโรปต่างพยายามแก้ไขปัญหาและดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป  โดยการรวมกลุ่มต่าง ๆ  เช่น  ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป  หรืออีซีเอสซี (European  Coal  and  Steel  Community-ECSC)  ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปหรืออีอีซี  (European  Economic  Community-EEC)  และประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรปหรือยูราตอม (European  Atomic  Energe  Community  :  Euratom)  การรวมกลุ่มต่าง ๆเหล่านี้ได้พัฒนาเป็นการรวมกลุ่มที่เรียกว่า  สหภาพยุโรปหรืออียูในที่สุด  โดยมีสมาชิกก่อตั้ง  15  ประเทศ  ปัจจุบันสหภาพยุโรปมีสมาชิก  25  ประเทศ

รายชื่อสมาชิกสหภาพยุโรป  25 ประเทศ

  1.  ออสเตรีย                

  2.  เบลเยียม

  3.  เดนมาร์ก                

  4.  ฟินแลนด์

  5.  ฝรั่งเศส                

  6.  เยอรมนี

  7.  กรีซ                

  8.  ไอร์แลนด์

  9.  อิตาลี                

10.  ลักเซมเบิร์ก

11.  เนเธอร์แลนด์                

12.  โปรตุเกส

13.  สเปน                

14.  สวีเดน

15.  สหราชอาณาจักร                

16.  ไซปรัส                        

17.  เช็ก                

18.  เอสโตเนีย

19.  ฮังการี                

20.  ลัตเวีย

21.  ลิทัวเนีย                

22.  มอลตา 

23.  โปแลนด์                

24.  สโลวีเนีย

25.  สโลวะเกีย

หลักการสำคัญ  3  ประการที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในชาติตะวันตก  ซึ่งระบุไว้ในสนธิสัญญมาสทริชต์

1.  ประชาคมยุโรป  (the  European  Communities)  ประกอบด้วย

-  การเป็นตลาดเดียว  (Single  Market)  ที่

สถานะและความสำคัญของสหภาพยุโรปในสังคมโลก

       -  ด้านการเมืองการปกครอง  สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประเทศที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการสร้างกระแสและทิศทางการเมือง  ความมั่นคง  เศรษฐกิจและสังคมระดับโลก

       -  ด้านเศรษฐกิจ  สหภาพยุโรปเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของโลกที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก  เป็นตลาดสินค้าและบริการ  ตลาดการเงินและแหล่งที่มาของการลงทุนที่สำคัญที่สุดและเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด

       ปัจจุบันสหภาพยุโรปมีบทบาทสำคัญต่อสังคมโลกมาก  โดยมุ่งเน้นในด้านเศรษฐกิจซึ่งสามารถมีอำนาจต่อรองกับประเทศมหาอำนาจต่าง ๆได้  และการรวมตัวในนามสหภาพยุโรปยังได้มีอิทธิพลหรือส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ  ที่กำลังพัฒนาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างเช่นกรณีประเทศไทย

มีการเคลื่อนที่อย่างเสรีของปัจจัย  4  ประการ  (free  movement)  คือ  บุคคล  สินค้า  การบริการ  และทุน

-  การมีนโยบายร่วม  (Common  Policies)  ในด้านการค้าการเกษตร  พลังงานสิ่งแวดล้อมและสังคม  เป็นต้น

       สหภาพเศรษฐกิจและการเงิน  (Economic  and  Monetary  Union)  มีธนาคารกลางยุโรป  และมีการใช้เงินสกุลเดียว  (เงินยูโร)  อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่  1  มกราคม  ค.ศ. 2002

2.  นโยบายร่วมด้านการต่างประเทศและความมั่นคง  (Common  Foreign  and  Security  Policy-CFSP) 

3.  ความร่วมมือด้านกระบวนการยุติธรรมและกิจการภายใน  (Cooperation  in  Justice  and  Home  Affairs)  เช่น 

การปราบปรามอาชญากรรมและสารเสพติดและการดำเนินการร่วมด้านความมั่นคงภายใน

สถานะและความสำคัญของสหภาพยุโรปในสังคมโลก

       -  ด้านการเมืองการปกครอง  สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประเทศที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการสร้างกระแสและทิศทางการเมือง  ความมั่นคง  เศรษฐกิจและสังคมระดับโลก

       -  ด้านเศรษฐกิจ  สหภาพยุโรปเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของโลกที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก  เป็นตลาดสินค้าและบริการ  ตลาดการเงินและแหล่งที่มาของการลงทุนที่สำคัญที่สุดและเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด

       ปัจจุบันสหภาพยุโรปมีบทบาทสำคัญต่อสังคมโลกมาก  โดยมุ่งเน้นในด้านเศรษฐกิจซึ่งสามารถมีอำนาจต่อรองกับประเทศมหาอำนาจต่าง ๆได้  และการรวมตัวในนามสหภาพยุโรปยังได้มีอิทธิพลหรือส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ  ที่กำลังพัฒนาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างเช่นกรณีประเทศไทย

ผลกระทบของการรวมกลุ่มสหภาพยุโรปที่มีต่อเศรษฐกิจไทย

       สหภาพยุโรปเป็นตลาดใหญ่ที่รองรับสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย  เช่น  ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง  สิ่งทอ  และอาหาร  เป็นต้น  การรวมกลุ่มจึงมีผลกระทบต่อไทย  ดังนี้

       -  การปรับกฎระเบียบในแนวทางเดียวกัน  ทำให้สหภาพยุโรปกลายเป็นตลาดใหญ่  มีผู้บริโภคที่มีอำนาจซื้อสูง  และมีการกำหนดมาตรฐานสินค้าให้สูงขึ้น  ทำให้สินค้าไทยเข้าสู่ตลาดนี้ได้ยากขึ้น

       -  สหภาพยุโรปมีความแข็งแกร่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต  ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง  ส่งผลให้การส่งออกของไทยต้องประสบปัญหาการแข่งขันเพิ่มขึ้น

       -  การปับระบบการเงินเข้าด้วยกัน  ไทยอาจได้รับผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนภายในสหภาพยุโรปในระยะแรก  แต่ในระยะยาวเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพมากขึ้น  จะส่งผลดีต่อการส่งออกของไทย

       -  การใช้เงินตราสกุลเดียวกันคือ  เงินยูโร  ทำให้ไทยลดต้นทุนการส่งออกในด้านค่าใช้จ่ายในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

       -  กรณีที่ภาวะเศรษฐกิจและการเงินของสหภาพยุโรปมีปัญหา ทำให้เกิดผลกระทบต่อประเทศคู่ค้ารุนแรงในอดีต  เนื่องจากเป็นการรวมตัวของ  25  ประเทศสมาชิก

       -  การรวมตัวของสหภาพยุโรป  จะจงดูดให้มีการลงทุนในสหภาพยุโรปเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมั่นใจในความมั่นคงของระบบการเงิน  ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในภูมิภาคอื่น ๆรวมทั้งประเทศไทย

ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการรวมกลุ่มสหภาพยุโรปควรมีทิศทางในการปรับตัว

       -  ศึกษา  วิเคราะห์  ผลกระทบจากกฎระเบียบของสหภาพยุโรปในด้านต่าง ๆเพื่อปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในสหภาพยุโรป

       -  เพิ่มมาตรการ  เพื่อขยายการค้าและกรลงทุนระหว่างกันและสนับสนุนภาคเอกชนใน   การเข้าร่วมลงทุนกับประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป

       -  เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าของไทย  ให้เป็นที่ยอมรับของสหภาพยุโรปและสามารถแข่งขันในตลาดโลก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โครงงานเรื่อง บังลอยไข่หวาน

ครีมเทียม

เทศกาลวันคริสมาสต์🌲⛄