บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2018

มาสทวิชต์

สนธิสัญญามาสทริชต์    สหภาพยุโรปเป็นการรวมกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกภายหลังสงครามโลกครั้งที่  2  โดยการทำสนธิสัญญามาสทริชต์  (Treaty  of  Maastricht)  ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์  เพื่อก่อตั้งสหภาพยุโรป  ที่มีผลบังคับในเดือนพฤศจิกายน  ค.ศ. 1993        ความคิดในเรื่องการบูรณาการยุโรปมีมานานับศตวรรษ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสงครามโลกครั้งที่  2  สิ้นสุดลง  ทั้งนี้เป็นผลจากการที่ยุโรปได้รับความเสียหายจากสงครามเพราะมีผู้บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนเกือบ  10  ล้านคน  ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเพราะชาติยุโรปต่าง ๆขัดแย้งศัตรูระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนี        นอกจากนี้ยังสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสงครามร่วมกันได้  เพราะบทเรียนที่ชาติยุโรปได้รับก็คือ  แต่เดิมชาติยุโรปต่างแข่งขันด้านเศรษฐกิจ  โดยไม่คำนึงถึงชาติอื่น ๆ  ทั้งนี้เป็นเพราะความรู้สึกเรื่องชาตินิยมทางเศรษฐกิจ  ทำให้ในที่สุดได้กลายเป็นสงครามสู้รบที่นำความเสียหายมาสู่ยุโรปแต่ถ้ายุโรปรวมกันได้ก็จะเกิดการค้าเสรีภายในยุโรปและขจัดอุปสรรคเกี่ยวกับชาติ  ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า  ทุน  แรงงานและบริการและการผลิตสินค้าที่อยู่ในกรอบของภูมิภาคไม่ใช่เป็นการผลิต

ครีมเทียม

กาแฟพร้อมกับน้ำตาลซองหนึ่งและคอฟฟีเมตน้ำถุงหนึ่ง ครีมเทียม  ( อังกฤษ : Non-dairy creamer, coffee whitener) หรือบางครั้งที่เรียกกันจนติดปากว่า คอฟฟีเมต [1] [2] [3]  เป็นครีมผงหรือน้ำที่ใช้ทดแทน นม หรือ ครีม  เพื่อจะเติมรสชาติใน กาแฟ และเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มี แล็กโทส และดังนั้นจึงถือกันว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ทำจากนม แม้ว่าจะมีสาร เคซีน  ซึ่งเป็น โปรตีน ที่ทำมาจากนม พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ได้ระบุคำจำกัดความของครีมเทียมไว้ว่า ผลิตภัณฑ์ที่มิได้ทำจากนมและมีไขมันอื่นนอกจากมันเนยเป็นส่วนประกอบที่สำคัญหรือครีมที่มีมันเนยผสมอยู่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของไขมันทั้งหมด [4] [2]

ยูโรโซน

รูปภาพ
  ประเทศยูโรโซน   ประเทศนอกยูโรโซนที่ใช้เงินสกุลยูโร ยูโรโซน  หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า  พื้นที่ยูโร [1] เป็นสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน ประกอบด้วยรัฐสมาชิก สหภาพยุโรป  19 รัฐ (ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558) ซึ่งใช้เงินสกุล ยูโร เป็นสกุลเงินร่วม และเป็นเงินสกุลเดียวที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ยูโรโซนปัจจุบันประกอบด้วย ออสเตรีย   เบลเยียม ไซปรัส   เอสโตเนีย   ฟินแลนด์   ฝรั่งเศส   เยอรมนี   กรีซ ไอร์แลนด์   อิตาลี   ลิทัวเนีย   ลักเซมเบิร์ก   ลัตเวีย มอลตา   เนเธอร์แลนด์   โปรตุเกส   สโลวาเกีย   สโลวีเนีย  และ สเปน  รัฐสหภาพยุโรปอื่นส่วนใหญ่ถูกผูกมัดให้เข้าร่วมเมื่อรัฐนั้นผ่านเกณฑ์การเข้าร่วม ไม่มีรัฐใดออกจากกลุ่มและไม่มีข้อกำหนดในการออกหรือขับสมาชิกออก นโยบายการเงินของโซนเป็นความรับผิดชอบของ ธนาคารกลางยุโรป  ซึ่งควบคุมโดยประธานและคณะกรรมการหัวหน้าธนาคารกลางแห่งชาติ งานหลักของธนาคารกลางยุโรปคือ รักษา เงินเฟ้อ ให้อยู่ภายใต้การควบคุมแม้ไม่มีการเป็นผู้แทนร่วม วิธีการปกครองหรือนโยบายการคลังของสหภาพการเงิน มีการร่วมมือเกิดขึ้นบ้างผ่านกลุ่มยูโร ซึ่งดำเนินการตัดสินใจทางการเมืองเกี่ยวข้องกับยูโรโซน